โซลาร์เซลล์ คืออะไร? คุณภาพดีหรือไม่ดี ดูกันยังไงนะ?
อัพเดทล่าสุด: 26 ก.ย. 2024
207 ผู้เข้าชม
โซลาร์เซลล์สามารถแปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ เหมาะอย่างยิ่งในภูมิประเทศที่มีสภาพอากาศแห้งแล้งและแสงแดดส่องสว่างจ้าตลอดเวลา โซลาร์เซลล์จะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้อย่างดี
ในเทคโนโลยีของโซลาร์เซลล์ชนิดซิลิกอน (Silicon) ในมุมมองของอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก นั่นคือ โมโนคริสตัลไลน์ โพลีคริสตัลไลน์ และอะมอร์ฟัส
- โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline) หรือผลึกเดี่ยว เป็นโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด นิยมนำมาใช้ผลิตพลังงาน สร้างจากสารกึ่งตัวนำบริสุทธิ์ พื้นผิวและเนื้อของวัสดุเป็นลักษณะผลึกเดี่ยว ทำให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ได้ง่าย อย่างไรก็ตาม การผลิตโซลาร์เซลล์ชนิดนี้มีความซับซ้อน ทำให้มีราคาสูง ตามท้องตลาดในปัจจุบันสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าต่อแผงได้สูงถึง 600-700 W (ประสิทธิภาพประมาณ 22-23%) ด้วยราคาขายประมาณ 3.5 - 4.5 THB/W และเมื่อไม่นานมานี้ มีการรายงานว่า Trina Solar ได้จัดจำหน่ายแผงโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 24.5% สูงที่สุดในท้องตลาด โดยสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้มากถึง 740.6 W (https://www.trinasolar.com/eu-en/resources/newsroom/eu-trina-solar-achieves-245-efficiency-210mm-cells-breaking-world-record-24th)
- โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline) หรือผลึกรวม เป็นโซลาร์เซลล์ที่มีกำลังไฟฟ้าต่ำกว่าแบบผลึกเดี่ยว มีประสิทธิภาพแค่ประมาณ 13-16% โดยทั่วไปมีกำลังไฟฟ้าไม่เกิน 100 W สร้างจากเศษของ Si นำมาผ่านกระบวนการหล่อกับแม่พิมพ์ เมื่อผลึกเย็นตัวลง จะพบว่าแผ่นเวเฟอร์โซลาร์เซลล์จะมีลักษณะการก่อตัวของผลึกจำนวนมาก เกิดเป็นแสงมันวาว การเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าในเนื้อผลึกรวมจะทำได้ไม่ดีนัก เนื่องจากเกิดการสูญหาย (เกิดการรวมตัว) ของประจุไฟฟ้าบริเวณขอบของผลึกเล็ก ๆ เหล่านั้น ในภาพรวมนั้นโซลาร์เซลล์ชนิดผลึกรวมจะมีขั้นตอนการผลิตที่ง่ายกว่า ทำให้มีราคาถูกกว่าแบบผลึกเดี่ยวค่อนข้างมาก
- อะมอฟัส (Amorphous) คือ โซลาร์เซลล์ที่ไม่มีความเป็นผลึก มักสร้างในรูปแบบของฟิล์มบาง ซึ่งมีลักษณะการผลิตไม่เหมือนโซลาร์เซลล์แบบผลึกเดี่ยวและผลึกรวม เช่น การเคลือบ การพ่น และการทำให้ตกตะกอน เป็นต้น ด้วยกระบวนการผลิตลักษณะนี้ ทำให้โซลาร์เซลล์แบบอะมอฟัส สามารถสร้างอยู่บนวัสดุอะไรก็ได้ ดังเช่น พลาสติก ทำให้ฟิล์มมีความยืดหยุ่นสูงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลาย อย่างไรก็ตาม โซลาร์เซลล์ชนิดอะมอฟัสจะผลิตกำลังไฟฟ้าได้ต่ำมาก และมีเสถียรภาพค่อนข้างต่ำ (กำลังงานลดลงประมาณ 15 - 35% เมื่อใช้งานผ่านไป 1 เดือน) จึงไม่ค่อยนิยมนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าในระบบใหญ่ ๆ
ถึงตรงนี้ทุกท่านน่าจะแยกประเภทของโซลาร์เซลล์กันได้แล้ว
บทความนี้มีลิขสิทธิ์ ผู้ใดคัดลอกและเผยแพร่โดยไม่มีการอ้างอิง จะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย
Tags :
บทความที่เกี่ยวข้อง
ในพื้นที่ห่างไกลที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เราสามารถใช้ไฟฟ้าได้โดยการใช้โซลาร์เซลล์ระบบออฟกริด (Off-grid หรือ Stand alone) ระบบนี้เหมาะสำหรับพื้นที่อยู่ห่างไกลจากระบบสายส่งหรือเป็นพื้นที่ธุระกันดาน ซึ่งอาจทำได้ยากหรืออาจจะไม่คุ้มทุนในการขยายเขตปักเสาและพาดสายไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่ ระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริดจึงเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า
23 พ.ย. 2024
ปัญหาค่าไฟแพง เป็นปัญหาปวดหัวของทุกครัวเรือน โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน ที่ค่าไฟอาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในปัจจุบัน การลดค่าไฟโดยใช้โซลาร์เซลล์เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งคุ้มค่าต่อการลงทุน และมีจุดคุ้มทุนที่ค่อนข้างสั้น
10 พ.ย. 2024